วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

นวัตกรรมการเรียนการสอนคืออะไร

นวัตกรรมการเรียนการสอนคืออะไร
ในยุคปฏิรูปการศึกษาทำให้นักวิชาการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างก็ตื่นตัวที่จะพัฒนางานด้านการศึกษา โดยเฉพาะครูผู้สอนในทุกช่วงชั้น ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างก็พยามยามที่จะปฏิรูปการเรียนรู้ แต่ก่อนที่จะมีการปฏิรูปการเรียนรู้กันนั้นครูผู้สอนซึ่งถือเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในการจักการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนจำเป็นต้องปฏิรูปการสอนของตนเองเสียก่อน ดั้งนั้นครูผู้สอนจึงต้องจึงต้องพยายามที่จะคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ เพื่อนำไปใช้กับระบบการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้นั้นมีหลานประเภทแตกต่างกันออกไป
ความหมายของนวัตกรรมทางการเรียนการสอน (Educationla Innovation)
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 565) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่าหมายถึงสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น
          ทิศนา แขมมณี (2548 : 418) ได้ขยายความหมายของนวัตกรรมจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2525 ออกไปว่าสิ่งทำขึ้นใหม่ ได้แก่ แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัเชดทำขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆทางการศึกษา
          สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547 : 9) กล่าวว่านวัตกรรมการเรียนการสอนคือสื่อการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยผ่าการผลิต การทดลองใช้ ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพแล้วจึงนาไปใช้จริงอย่างได้ผล
          ชนาธิป พรกุล (2537 : 59) อธิบายว่าการเรียนการสอน (Educationla Innovation) คือ สิ่งที่นำเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
          พจนานุกรม Oxford Advanced Learner’s Dictionary (2000 : 618) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า การริเริ่มใช้สิ่งของ ความคิด หรือแนวทางใหม่ๆ ในการทำสิ่งต่างๆขึ้นมา
          สรุปได้ว่านวัตกรรมทางการเรียนการสอนคือสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาดชเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
          นวัตกรรมทางการเรียนการสอน ควรมีลักษณะซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
          1.เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการสอนทั้งหมด เช่น วิธีสอนใหม่ๆ สื่อการสอนใหม่ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
          2.เป็นสิ่งที่ใหม่เพียงบางส่วน เช่น มีการผลิตชุดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แต่ยังคงมีรูปแบบเดิมเป็นหลักอยู่ ตัวอย่างเช่น มีบัตรเนื้อหา บัตรความรู้ บัตรทดสอบ แต่มีการเพิ่มบัตรฝึกทักษะความคิด บัตรงานสำหรับผู้เรียน เป็นต้น
3.เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่ามีประสิทธิภาพในการนำไปใช้มากน้อยเพียงไร เช่นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรายวิชา
          4.เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้บ้างแล้วแต่ยังแพร่หลายเช่น แหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น มีวนอุทยานแห่งชาติอยู่ในท้องถิ่นนั้นแต่เนื่องจากมีอุปสรรคเกี่ยวกับการเดินทางจึงยังไม่เป็นที่นิยมของสถานศึกษาต่างๆ
          5.เป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนัสนุนต่อมาได้นำมาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพร่จัดว่าเป็นนวัตกรรมได้
ในกรณีสิ่งนั้นที่นำมาใช้จนกลายเป็นสิ่งปกติของระบบงานนั้นไม่จัดว่าเป็นนวัตกรรม เช่น การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของโรงเรียนเมฆวิทยา เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนที่ผู้บริหารสนใจและสนับสนุนให้ทุกกลุ่มและสาระการเรียนรู้ ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกระดับชั้น จนกลายเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของโรงเรียน จึงไม่เรียกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่าเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป
ประเภทของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
ปัจจุบันนี้มีบุคลากรทางวงการศึกษาต่างก็ผลิตนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนออกมาจำนวนมากขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนของแต่ละท้องถิ่น หรือเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้มักใช้เกณฑ์มาตรฐานของสานักงานรองรับมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นบรรทัดฐานที่กำหนดเป้าหมายว่าต้องจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการศึกษาถ้าผู้เรียนโรงเรียนใดมีลักษณะหรือคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ก็จะหาแนวทาง วิธีการที่จะสร้างนวัตกรรมมาใช้เพื่อเป็นเครื่องหรือปัจจัยที่จะทำให้คุณภาพของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย
          พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2550 : 3 ) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนว่านวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจำนวนมากแต่สามารถจำแนกประเภทได้ดั้งนี้
1.นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์  
นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความ
เข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่างๆได้เร็วยิ่งขึ้น นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่
·       ชุดการเรียน / ชุดการสอน / ชุดการเรียนการสอน
·       แบบฝึกทักษะ / ชุดการฝึก / ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
·       บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผงม / บทเรียนโปรแกรม
·       เกม
·       การ์ตูน
·       นิทาน
·       เอกสารประกอบการเรียนรู้ / เอกสารประกอบการเรียนการสอน / เกสารประกอบการสอน
ฯลฯ
2. นวัตกรรมประเภทรูปแบบ / เทคนิค / วิธีการสอน
                   นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆที่นักการศึกษาได้คิดค้นเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้รีเยนทั้งในด้านการความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตนคติ ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก ได้แก่
·       วิธีการสอนคิด
·       วิธีการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
·       CIPPA MODEL
·       วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
·       วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
·       วิธีสอนแบบบรูณาการ
·       วิธีสอนโครงงาน
·       วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
·       Constructivism
ฯลฯ
                   นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมประเภทเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียน ด้านจิตพิสัย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 3-11 ) สรุปว่าการพัฒนาจิตพิสัยในการเรียนการสอนที่จำเป็น ได้แก่ ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทย
                  
กล่าวสรุปได้ว่านวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนนั้นสามารถจัดเป็น 2 ประเภทคือ
 นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมประเภทรูปแบบ เทคนิค / วิธีการสอน ซึ่งรวมทั้งการพัฒนาจิตพิสัยในการเรียนการสอนด้วย
การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
          ทิศนา แขมมณี (2548:423) ได้ให้หลักการในการพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอนใว้พอสรุปดังนี้
1.       การระบุปัญหา (Problem) ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการ
มองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไขปัญหานั้นให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
2.       การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Objective) เมื่อกำหนดปัญหาแล้วก็กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณสมบัติ หรือลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดใว้
3.       การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (Onstraints) ผู้พัฒนาทางด้านการเรียนการสอนต้องศึกษาข้อมูล
ของปัญหาและข้อจำกัดที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริง
4.       การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (Inmovation) ผู้จัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมจะต้องมีความรู้
ประสบการณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจนำของเก่ามาปรับปรุง ดัดแปลง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจคิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนมีรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่น อาจมีลักษณะเป็นแนวความคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
5.       การทดลองใช้ (Experimentation) เมื่อคิดค้นหรือผลิตนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนแล้ว
ต้องทดลองใช้นวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขผลการทดลองจะทำให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่อไป ถ้าหากมีการทดลองใช้นวัตกรรมหลายครั้งก็ย่อมมีการมั่นใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้น
6.       การเผยแพร่ (Dissemination) เมื่อมั่นใจว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพแล้วก็สามรถ
นำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก
          สำลี ทองธิว (2545:99-146) ได้กล่าวถึงรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมที่นิยมกันมี 4 รูปแบบคือ
     1.การเผยแพร่ที่อิงการใช้อำนาจสนับสนุนจากเบื้องสูง(AuthorityInnovation-DecisionModel)
เป็นการเผยแพร่โดยการชักจูงให้ผู้มีอำนาจในระดับสูงเห็นความสำคัญในการใช้นวัตกรรมนั้น และตัดสินใจสั้งการไปยังผู้ใช้ซึ่งอยู่ในระดับล่างให้ใช้นวัตกรรมนั้น
               2.การเผยแพร่แบบใช้มนุษยสัมพันธ์ (Human Interaction Model) เป็นการเผยแพร่โดยการชักจูงบุคคลที่จะใช้หรือเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นโดยการให้ความรู้ความเข้าใจและให้ความช่วยเหลือในการทดลองใช้
               3.การเผยแพร่การใช้นวัตกรรม (UserParticipaitonModel) เป็นการเผยแพร่ถึงตัวผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรงคือครู
               4.การเผยแพรแบบผสม (EclecticProcessofChangeModel) เป็นการเผยแพร่นวัตกรรมผ่านตัวกลาง ซึ่งเป็นหน้าที่เชื่อมระหว่างกลุ่มผู้ต้องการเผยแพร่นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนกับกลุ่มผู้ต้องการใช้นวัตกรรม ตัวกลางเผยแพร่นวัตกรรมอาจใช้วิธีการเผยแพร่ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวผสมผสานกัน
          เมื่อนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ได้เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ พอสมควรก็จะสามรถพิสูจน์ได้ว่า นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนนั้นเป็นที่ยอมรับกันในระดับใด หากได้รับการยอมรับถึงในระดับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในระบบงานปกติต่อไปก็จะเปลี่ยนจากสภาพจากนวัตกรรมเป็นวิธีการปฏิบัติโดยทั่วไป นับได้ว่านวัตกรรมด้านการเรียนการสอนนั้นประสบความสำเร็จอย่างสมบรูณ์ นวัตกรรมบางอย่างได้รับการยอมรับและนำไปใช้เพียงระยะหนึ่ง แต่นวัตกรรมบางอย่างได้รับการยอมรับนำไปใช้แต่ไม่แพร่หลายก็เลิกใช้ นวัตกรรมบางอย่างไม่ได้รับการยอมรับนำไปใช้เลย ซึ่งคงต้องมีการเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ขั้นแรกเป็นต้นไป นวัตกรรมบางอย่างก็ตายไปไม่มีการนำไปใช้เลย ดั้งนั้นผู้ผลิตนวัตกรรมควรตรวจสอบข้อมูล ความสำคัญ ความจำเป็นของนวัตกรรมชนิดต่างๆก่อนที่จะตัดสินใจผลิต
          กล่าวได้ว่าการผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอน มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่เรียนกระจ่างชัดเจน ทำให้พัฒนาทางด้านการเรียนรู้มีประสิทธิภาพส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2544 และตามเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)ครูผู้สอนยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคปฏิรูปการศึกษาควรมีการกระตือรือร้นใส่ใจในการพัฒนาวิชาชีพของตน โดยเฉพาะมีการผลิตนวัตกรรมชนิดต่างๆอยู่เสมอเพื่อใช้ประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน อีกทั้งยังทำให้ผู้เรียนมี
เจตนคติที่ดีต่อการเรียนรู้
          ในการผลิตนวัตกรรมทางการเรียนการสอนแต่ละชนิดนั้น ผู้ผลิตจะต้องมีเป้าหมายในการจัดทำ ศึกษาข้อมูลในการผลิต วิธีการผลิต การนำไปใช้ ตลอดทั้งความคุ้มค่าต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน และเมื่อผลิตแล้วควรได้นำไปทดลองใช้นำผลการทดลองมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้น

นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ ตอนที่1
นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์นั้นมีหลายชนิด อาทิ ชุดการเรียน/ชุดการสอน/ชุดการเรียนการสอน/ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้/บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม/บทเรียนโปรแกรม เกม การ์ตูน นิทาน หนังสืออ่านเพิ่มเติมเอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/เอกสารประกอบการสอนซึ่งนวัตกรรมดั่งกล่าวช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนได้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ผู้สอนควรศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ก่อนนำมาออกแบบหน่วยการเรียนรู้แล้วจึงวิเคราะห์ว่าหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยนั้นจะใช้นวัตกรรมชนิดใดที่เหมาะสมทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้
ในตอนที่ 1นี้ จะนำเสนอนวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ในบางชนิด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
คือชุดการเรียนการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียชุดการฝึกทักษะการเรียนรู้ เกม หนังสืออ่านเพิ่มเติม การ์ตูน นิทาน โดยมีตัวอย่างประกออบนวัตกรรมทุกชนิด
1.ชุดการเรียนการสอน
ชุดการเรียนการสอนเป็นนวัตกรรมที่ครูใช้ประกอบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้เรียนศึกษาและใช้สื่อต่างๆ ในชุดการเรียนการสอนที่ผู้สอนสร้างขึ้นชุดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบของการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนซึ่งประกอบด้วยคำแนะนำให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีขั้นตอนที่เป็นระบบชัดเจน จนกระทั่งนักเรียนทั้งหมดบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาชุดการเรียนการสอนด้วยตนเอง ผู้สอนเป็นเพียงที่ปรึกษาและให้คำแนะนำซึ่งในชุดการเรียนการสอนนั้นประกอบไปด้วย สื่อ อุปกรณ์ กิจกรรมการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล ปัจจุบันได้มีผู้พัฒนาการสอนที่มีกิจกรรมเน้นฝึกทักษะการคิดเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
ประเภทของชุดการเรียนการสอน
นักการศึกษาหลายท่านได้แบ่งประเภทของชุดการเรียนการสอนไว้แตกต่างกันออกไปดังนี้
ชัยวงศ์ พรหมวงศ์ และคนอื่นๆ (2523:118)ได้แบ่งประเภทของชุดการเรียนการสอนไว้ 4 ประเภทคือ
1.ชุดการเรียนการสอนประกอบการบรรยาย
เป็นชุดการเรียนการสอนที่มุ่งขยายเนื้อหาสาระการสอนแบบบรรยายให้ชัดเจน โดยกำหนดกิจกรรมและสื่อการสอนให้ผู้สอนใช้ประกอบการบรรยาย ซึ่งอาจเรียกว่าชุดการเรียนการสอนสำหรับครู ชุดการเรียนการสอนจะมีเนื้อหาวิชาเพียงหน่วยเดียวและใช้กับผู้เรียนทั้งชั้น โดยแบ่งหัวข้อที่จะบรรยายเนื้อหาและกิจกรรมไว้ตามลำดับขั้น ชุดการเรียนการสอนแบบนี้มีสื่อการสอนที่หลากหลาย เช่นแผนการสอน แผนภูมิ รูปภาพ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ผู้สอนซึ่งเป็นผู้จัดทำชุดการเรียนการสอนจะบรรจุชุดการเรียนการสอนในกล่องที่มีขนาดเหมาะสม ในกรณีที่สื่อการสอนนั้นเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ราคาแพง หรือขนาดเล็กมาก หรือเป็นสิ่งที่มีชีวิต ไม่สามารถบรรจุลงในกล่องได้ ควรมีการกำหนดข้อมูลการใช้สื่อไว้ในคู่มือครูเพื่อเตรียมการสอน
2.ชุดการเรียนการสอนสำหรับกิจกรรมแบบกลุ่ม
เป็นชุดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมอาจจัดในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนก็ได้ ชุดการเรียนการสอนแต่ละชุดจะประกอบด้วย ชุดการเรียนการสอนย่อยที่มีจำนวนเท่ากับจำนวนศูนย์ที่แบ่งไว้
ในแต่ละหน่วยในแต่ละศูนย์มีชื่อหรือบทเรียนคบชุด ตามจำนวนผู้เรียนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมในแต่ละศูนย์ ซึ่งจัดไว้ในรูปแบบสื่อประสม อาจใช้เป็นสื่อรายบุคคลหรือทั้งกลุ่มใช้ร่วมกันได้
ในระหว่างทำกิจกรรมแต่ละศูนย์นั้น ถ้าผู้เรียนมีปัญหาหรือสงสัยสามารถซักถามผู้สอนได้ และถ้าทำกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละศูนย์เสร็จเร็วก่อนกำหนดเวลา ผู้เรียนสามารถศึกษาในศูยน์สำรองที่จัดเตรียมไว้ในระหว่างรอเวลาที่จะเข้าศูนย์อื่นต่อไป
3.ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล
เป็นชุดการเรียนการสอนที่จัดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามคำแนะนำที่ได้ระบุไว้ ถ้าสงสัยในตอนใดก็ถามผู้สอนได้ ผู้เรียนสามารถปรึกษากันในระหว่างการเรียนได้ ผู้เรียนอาจนำไปศึกษานอกเวลาเรียน หรือนำปรึกษาที่บ้านได้ โดยมีผู้ปกครองหรือบุคลากรอื่นคอยแนะนาให้ความช่วยเหลือได้
4.ชุดการเรียนการสอนทางไกล
เป็นชุดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างเวลา มุ่งสอนให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเองไม่ต้องเข้าชั้นเรียนชุดการเรียนการสอนทางไกลนี้ประกอบด้วยสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ รายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสอนเสริมตามศูนย์บริการการศึกษา เช่น ชุดการเรียนการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น
ยุพิน พิพิธกุล และอรพรรณ(2531:181)ได้แบ่งชุดการเรียนการสอนออกเป็น ประเภท สรุปได้ดังนี้
          1.ชุดการเรียนการสอนสำหรับครู ครูใช้เป็นคู่มือประกอบการสอน ซึ่งใช้สอนนักเรียนเป็นกลุ่มหรือนักเรียนทั้งชั้น ชุดการเรียนการสอนนี้ประกอบด้วยคู่มือครู และสื่อการเรียนการสอน ชุดการเรียนการสอนประเภทนี้มีการเปิดโอกาสให้นัดเรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้บ้างขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีการเรียนการสอนของครู
2.ชุดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ หรือชุดการเรียนการสอนรายบุคคล เป็นขุดการเรียนการสอนที่นักเรียนเรียนด้วยตัวเอง
3.ชุดการเรียนการสอนที่ใช้กับศูนย์การเรียน เป็นชุดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนแต่ละได้เลือกเรียนอย่างอิสระ โดยเวียนศึกษาไปตามศูนย์ต่างๆจนครบ
4.ชุดการเรียนการสอนแบบผสม เป็นชุดการเรียนการสอนที่จัดกิจกรรมได้หลายอย่างเพื่อให้ครูเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
กาญจนา เกียรติประวัติ (2524:60-61) ได้จำแนกประเภทของชุดการเรียนการสอนไว้ 2 ประเภท พอสรุปได้ดังนี้
          1.ชุดการเรียนการสอนสำหรับกิจกรรมกลุ่ม เป็นชุดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม เช่น วิธีการของศูนย์การเรียน หรือบทเรียนโมดูล
          2.เป็นชุดการเรียนการสอนรายบุคคล เป็นชุดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองตามลำพัง ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ในเวลาที่แตกต่างกัน ผู้เรียนแต่ละคนสามารถทดสอบความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองได้ตลอดเวลา และสามารถตรวจคำตอบได่ทันที ชุดการเรียนการสอนนี้จะพัฒนาความรับผิดชอบของผู้เรียน
          กล่าวสรุปได้ว่าชุดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับครูผู้สอนในการจัดการศึกษาให้ระบบนั้นสามารถจัดทำได้4รูปแบบคือ
          1.ชุดการเรียนการสอนสำหรับครูผู้สอน เป็นชุดการสอนที่ครูใช้ประกอบการสอนประกอบด้วยคู่มือครู สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการจัดกิจกรรมและสื่อการสอนประกอบการบรรยายของผู้สอน ชุดการเรียนการสอนนี้มีเนื้อหาสาระวิชาเพียงหน่วยเดียวและใช้กับผู้เรียนทั้งชั้นแบ่งเป็นหัวข้อที่จะบรรยาย มีการกำหนดกิจกรรมตามลำดับขั้น
2.ชุดการเรียนการสอนสำหรับกิจกรรมกลุ่ม เป็นชุดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้ร่วมกัน โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนต่างๆที่กำหนดไว้ในชุดการเรียนการสอนหรืออาจจะเรียนรู้ชุดการเรียนการสอนในศูนย์การเรียน กล่าวคือในแต่ละศูนย์การเรียนรู้จะมีชุดการเรียนการสอนในแต่ละหัวข้อย่อยของหน่อยการเรียนที่ให้ผู้เรียนศึกษา ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะหมุนเวียนศึกษาความรู้และทำกิจกรรมของชุดการสอนจนครบทุกศูนย์การเรียนรู้
3.ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล เป็นชุดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในชุดการเรียนการสอน ซึ่งสามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และเมื่อศึกษาจนครบตามขั้นตอนแล้วผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนของตนเองได้ด้วยตนเอง
4.ชุดการเรียนเรียนการสอนแบบผสม เป็นชุดการเรียนการสอนที่มีการจัดกิจกรรมหลากหลาย บางขั้นตอนผู้สอนอาจใช้วิธีการบรรยายประกอบการใช้สื่อ บางขั้นตอนผู้สอนอาจให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ด้วย ตนเองเป็นรายบุคคล และบางขั้นตอนอาจให้ผู้เรียนศึกษาความรู้จากชุดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น
องค์ประสอบสำคัญของชุดการเรียนการสอน
          นักเรียนต่างก็ได้กำหนดองค์ประกอบของชุดการสอน ชุดการเรียนการสอน ชุดการเรียน ไว้ต่างๆกันดังนี้
          คาร์ดาเรลลี่(Cardarelli1973:150)ได้กำหนดองค์ประกอบของชุดการเรียนว่าต้องประกอบด้วย
1.หัวข้อ(Topic)
2.หัวข้อย่อย(Subtopic)
3.จุดมุ่งหมายหรือเหตุผล(Rational)
4.จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม(Behavioral Objectives)
5.การทดสอบก่อนเรียน(Pretest)
6.กิจกรรมและการประเมินตนเอง(Activities and Self-Evaluation)
7.การทดสอบย่อย(QuizหรือFormative Test)
8.การทดสอบขั้นสุดท้าย(PosttestหรือSummative Evaluation)
          ชัยยงค์ พรมหวงศ์(2523:120)ได้จำแนกองค์ประกอบของชุดการเรียนไว้4ส่วน คือ
1.คู่มือครูสำหรับผู้ใช้ชุดการเรียน เป็นคู่มือสำหรับผู้เรียนที่ต้องการเรียนจากชุดการเรียน
2.เนื้อหาสาระและสื่อ จัดให้อยู้ในรูปของสื่อการเรียนแบบประสมและกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มและรายบุคคลตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
3.คำสั่งหรือการมอบงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการเรียนให้ผู้เรียน
4.การประเมิน เป็นการประเมินผลกระบวนการ ได้แก่ แบบฝึกหัดรายงานการค้นคว้าและผลการเรียนรู้ในรูปแบบสอบถามต่างๆ ส่วนประกอบทั้งหมดจะอยู่ในกล่องหรือซองโดยจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกใน
บุญชม ศรีสะอาด(2537:95-96)ได้กล่าวว่าชุดการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่สำคัญ4ด้านดังนี้
คู่มือการใช้ชุดการเรียน
บัตรงาน
แบบทดสอบวัดผลความก้าวหน้าของผู้เรียน
สื่อการสอนต่างๆ

1.คู่มือการใช้ชุดการเรียน เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ชุดการเรียนการสอนศึกษาและปฏิบัติประกอบด้วยแผนการสอน สิ่งที่ผู้สอนต้องเตรียมก่อนการสอน บทบาทของผู้เรียน การจัดชั้นเรียน (ในกรณีของชุดการสอนที่มุ่งใช้กับกลุ่มย่อย เช่น ในศูนย์การเรียน)
2.บัตรงาน เป็นบัตรที่มีคำสั่งว่าจะให้ผู้เรียนปฏิบัติอะไรบ้าง โดยระบุกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนของการเรียน
3.แบบทดสอบวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน เป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับตรวจว่าหลังจากเรียนชุดการเรียนการสอนจบแล้ว ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่
4.สื่อการเรียนต่างๆ เป็นสื่อสำหรับผู้เรียนได้ศึกษา มีหลายชนิดประกอบกันอาจเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น บทความ เนื้อหาเฉพาะเรื่อง จุลสาร บทเรียนโปรแกรมหรือประเภทโสตทัศนูปกรณ์ เช่นรูปภาพ แผนภูมิต่างๆ เทปบันทึกเสียง ฟิล์มสตริป สไลด์ขนาด2*2นิ้ว ของจริง เป็นต้น
สรุปได้ว่าการเรียนการสอนแต่ล่ะชุดมีเนื้อหาเหมือนกันคือเรื่องเดียวกัน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาชุดการเรียนการสอนแล้วจะมีการประเมินและการซ่อมเสริม สำหรับเวลาที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียน ส่วนองค์ประกอบที่สำคัญของชุดการเรียนการสอน คือ
1.คำชี้แจงในการใช้ชุดการเรียนการสอน เป็นคำชี้แจงให้ผู้เรียนทราบจุดประสงค์ของการเรียน ศึกษาชุดการเรียนการสอนและส่วนประกอบของชุดการเรียนการสอน เช่น ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรปฏิบัติการ บัตรเนื้อหา บัตรฝึกหัดและบัตรเฉลย บัตรปฏิบัติการและบัตรเฉลย บัตรทดสอบ และบัตรเฉลยบัตรทดสอบ
2.บัตรคำสั่ง เป็นการชี้แจงรายละเอียดของการศึกษาชุดการเรียนการสอนนั้นว่า ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างไร
3.บัตรกิจกรรมหรือบัตรปฏิบัติการ บางชุดการเรียนการสอนอาจออกแบบให้มีบัตรกิจกรรมหรือบัตรปฏิบัติการ ซึ่งเป็นบัตรที่บอกให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ
4.บัตรเนื้อหา เป็นบัตรที่บอกเนื้อหาที่ให้ผู้เรียนศึกษา สิ่งที่ควรมีในบัตรเนื้อหาคือ หัวเรื่อง สูตร นิยาม และคำอธิบาย
5.บัตรแบฝึกหัดหรือบัตรงาน เป็นแบบฝึกหัดที่ให้ผู้เรียนทำหลังจากได้ทำกิจกรรมและศึกษาเนื้อหาจนเข้าใจแล้ว(ในกรณีวิชาคณิตศาสตร์อาจมีหัวเรื่อง สูตร นิยาม กฎที่ต้องการใช้ในโจทย์ฝึกหัด)
6.บัตรเฉลยบัตรแบบฝึกหัด เมื่อผู้เรียนทำบัตรแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว สามารถตรวจสอบความถูกต้องจากบัตรเฉลยบัตรแบบฝึกหัด
7.บัตรทดสอบ เมื่อผู้เรียนทำบัตรแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้ในหัวข้อที่เรียนนั้นๆ ต่อจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทำบัตรแบบทดสอบ
8.บัตรเฉลยบัตรทดสอบ เป็นบัตรที่มีคำเฉลยของบัตรทดสอบที่ผู้เรียนได้ทำไปแล้วเป็นการตรวจสอบหรือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ในการศึกษาชุดการเรียนการสอนนั้น
ขั้นตอนการสร้างชุดการเรียนการสอน
การที่ผู้สอนสร้างชุดการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนนั้น ครูควรดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.เลือกหัวข้อ(Topic)กำหนดขอบเขต และประเด็นสำคัญของเนื้อหา ผู้สร้างชุดการเรียนการสอนควรเลือกหัวข้อและประเด็นสำคัญ ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้นที่จะสอนว่าหัวข้อใดเหมาะสมที่ควรนำไปสร้างชุดการเรียนการสอน ที่ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาความรู้ได้ด้วยตนเอง
2.กำหนดเนื้อหาที่จะจัดทำชุดการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
3.เขียนจุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การเขียนจุดประสงค์ควรเขียนเป็นลักษณะจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนทราบจุดประสงค์ว่าเมื่อศึกษาชุดการเรียนการสอนจบแล้ว ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถอย่างไร
4.สร้างแบบทดสอบ การสร้างแบบทดสอบมี3แบบ คือ
4.1 แบบทดสอบวัดพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะมาเรียนเพียงพอหรือไม่ (เมื่อทดสอบแล้วถ้าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ ผู้สอนควรแนะนำให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆโดยวิธีใด เป็นต้น หรือผู้สอนอาจอธิบายความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้เรียนในเรื่องนั้นๆ)
4.2 แบบทดสอบย่อย เพื่อวัดความรู้ของผู้เรียนหลังจากผู้เรียนเรียนจบในแต่ละเนื้อหาย่อย
4.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังจากศึกษาชุดการเรียนการสอนจบแล้ว
5.จัดทำชุดการเรียนการสอน ประกอบด้วย
5.1 บัตรคำสั่ง
5.2 บัตรปฏิบัติการ และบัตรเฉลย (ถ้ามี)
5.3 บัตรเนื้อหา
5.4 บัตรฝึกหัด และบัตรเฉลยแบบฝึกหัด
5.5 บัตรทดสอบและบัตรเฉลยบัตรทดสอบ
6.วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนเตรียมออกแบบการจัดกิจกรรมกราเรียนการสอน โดยมีหลักการสำคัญคือ
6.1 ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนเป็นเพียงคอยชี้แนะและควบคุมการเรียนการสอน
6.2 เลือกกิจกรรมหลากหลายที่เหมาะสมกับชุดการเรียนการสอน
6.3 ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการคิดอย่างหลากหลาย เช่น คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดอย่างมีวิจารญาณ คิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
6.4 มีกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
7.การรวบรวมและจัดทำสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนบางชนิดอาจมีผู้จัดทำไว้แล้ว ผู้สอนอาจนำมาปรับปรุงดัดแปลงใหม่ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์ที่ต้องการสอน ในกรณีที่ไม่มีสื่อที่ตรงตามจุดประสงค์ที่จะสอน ครูผู้สอนต้องสร้างสื่อการเรียนการสอนใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลามาก
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          กำนำชุดการเรียนการสอนไปใช้นั้น ส่ามารถนำไปใช้ในการเรียนเป็นรายบุคคล การเรียนเป็นคู่ การเรียนเป็นกลุ่ม โดยมีขั้นตอนดังนี้
          ขั้นที่1 เร้าความสนใจของผู้เรียน โดยใช้วิธีต่างๆ เช่น ทบทวนความรู้ในเนื้อหาเดิม เกม ปริศนา คำถาม เป็นต้น
          ขั้นที่2 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
          ขั้นที่3 ให้ผู้เรียนศึกษาชุดการเรียนการสอน ดังนี้
3.1 ศึกษาคำชี้แจงของการใช้ชุดการเรียนการสอนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3.2 ศึกษาบัตรคำสั่ง
3.3 ศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรปฏิบัติการ(ถ้ามี) และตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
3.4 ศึกษาบัตรเนื้อหา
3.5 ทำบัตรฝึกหัดและตรวจสอบคำตอบจากบัตรเฉลย (อาจให้ทำบัตรฝึกหัดที่เน้นฝึกทักษะการคิดเพิ่มเติมได้)
3.6 ทำบัตรทดสอบ
3.7 ประเมินตนเองโดยการตรวจคำตอบจากบัตรเฉลยและให้คะแนนด้วยความซื่อสัตย์
          ขั้นที่4 สรุปทบทวนความรู้ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้ในประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษาชุดการเรียนการสอนประโยชน์ข้อจำกัดของชุดการเรียนการสอน
ประโยชน์ข้อจำกัดของชุดการเรียนการสอน
1.ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถในการศึกษาความรู้ในชุดการเรียนการสอนด้วยตนเองเป็นการฝึกทักษะในการแสวงหาความรู้ ทักษะการอ่ารน และสรุปความรู้อย่างเป็นระบบ
2.การทำแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ และแบบฝึกทักษะการคิดท้ายชุดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเรียนจักคิดเป็นแก้ปัญหาเป็น สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดโดย สมศ.
3.ผู้เรียนมีวินัยในตนเอง จากการที่ผู้เรียนทำตามคำสั่งในขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดในชุดการเรียนการสอน การตรวจแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ หรือในงานด้วยตนเองนั้นทำให้ผู้เรียนรู้จักฝึกตนเองให้ทำตามกติกา
4.ผู้เรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความเห็นของกันและกัน เป็นการฝึกความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย
5.การใช้ชุดการเรียนการสอนนั้นสามารถศึกษานอกเวลาเรียนได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้สอนที่เอื้อต่อการศึกษาด้วยตนเอง
ข้อจำกัดของชุดการเรียนการสอน
1.ผู้สอนต้องนำวิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนมาใช้ก่อนเริ่มบทเรียนหรือระหว่างการศึกษาบทเรียน มิฉะนั้นแล้วผู้เรียนจะไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนด
2.เรื่องที่ให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ด้วยตนเอง ควรเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาสาระที่ง่าย สำหรับผู้เรียนรู้ด้วยตนเองได้
3.การให้ผู้เรียนศึกษาชุดการเรียนการสอนนั้นต้องมีบัตรงาน/ใบงาน/แบบฝึกหัด/แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ที่ฝึกผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ และควรมีเฉลยให้ผู้เรียนตรวจสอบความรู้ของตนเอง ซึ่งถ้าเป็นคำถามกรณีปลายเปิด หรือฝึกทักษะการคิด จะไม่มีเฉลยที่ชัดเจนลงไปจึงต้องมีแบบเฉลยที่หลากหลาย
    สำหรับชุดการเรียนการสอนต่อไปนี้ ได้นำเสนอชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และพลศึกษา ซึ่งจะมีความแตกต่างของรูปแบบการนำเสนอในแต่ล่ะชุด การนำเสนอตัวอย่างดังกล่าวเพื่อผู้สอนในแต่ล่ะกลุ่มสาระการเรียนรู้จะได้นำไปประยุกต์สร้าง/พัฒนา/ดัดแปลงชุดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนที่ตนสอนและสภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน


ชุดการฝึก / ชุดฝึกทักษะ
ชุดการฝึกหรือชุดการฝึกทักษะ เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้มีความเข้าใจในบทเรียนหรือเรื่องที่กำลังเรียน ซึ่งผู้สอนได้ออกแบบชุดการฝึกเพื่อทักษะการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของตน ทำให้ผู้เรียนมีความแม่นยำในเรื่องที่ต้องการฝึก นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้คิดเป็นมีความรับผิดชอบและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ถึงแม้ว่าจะมีการเรียนรู้ชุดการฝึกและชุดฝึกทักษะแตกต่างกันออกไปก็ตาม แต่เป้าหมายของการจัดทำก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว
ความหมายของชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์(2528:128) ให้ความหมายของชุดการฝึกว่าหมายถึง สิ่งที่นักเรียนต้องใช้ควบคู่กับการเรียน มีลักษณะเป็นชุดการฝึกครอบคลุมกิจกรรมที่นักเรียนพึงกระทำ อาจกำหนดแยกเป็นหน่วย หรืออาจรวมเล่มก็ได้
วาสนา สุพัฒน์(2530:11)ให้ความหมายของชุดการฝึกว่าหมายถึง งานหรือกิจกรรมที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำเพื่อทบทวนความรู้ต่างๆที่ได้เรียนไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะและเพิ่มทักษะ ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้
อัจฉรา ชีวพันธ์และคนอื่นๆ(2535:102)ได้ให้ความหมายของชุดการฝึกว่าหมายถึงสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อความเข้าใจและเสริมเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนช่วยให้นักเรียนได้ปฏิบัติ และนำความรู้ไปใช้ได้อย่างแม่นยำถูกต้องและคล่องแคล่ว
อุมาพร รังสิยานนท์ (2546:46)ได้ให้ความหมายของชุดการฝึกว่าหมายถึงสื่อที่สร้างขึ้น เพื่อเสริมสร้างทักษะให้แก่นักเรียน มีลักษณะเป็นชุดการฝึกหัดที่มีกิจกรรมให้นักเรียนทำโดยมีการทบทวนสิ่งที่เรียนผ่านมาแล้วจากบทเรียน ให้เกิดความเข้าใจและเป็นการฝึกแก้ไขจุดบกพร่องเพื่อให้นักเรียนได้มีทักษะยิ่งขึ้น
สรุปแล้วกล่าวได้ว่าชุดการฝึกหมายถึง สื่อที่สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมที่เป็นการทบทวนหรือเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้แก่นักเรียนหรือให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการเรียนรู้หลายๆรูปแบบเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ให้แก่ผู้เรียนได้มีคุณลักษณะที่ต้องการปัจจุบันนี้ผู้สอนได้จัดทำชุดการฝึกในลักษณะชุดฝึกทักษะต่างๆ เช่น ชุฝึกทักษะการเรียนรู้ ชุดฝึกทักษะความคิด ชุดฝึกทักษะการตัดสินใจ ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น
กล่าวได้ว่าชุดการฝึกมีความสำคัญต่อผู้เรียนที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเรียนรู้และเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น ชัดเจนขึ้นส่งเสริมให้การสอนของครูผู้สอนและผลการเรียนของผู้เรียนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะ
1.ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามอัตภาพ เด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกันการให้ผู้เรียนได้จัดการทำชุดการฝึกเหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคนใช้เวลาที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะการเรียนรู้ของแต่ละคนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจในการเรียนรู้ นอกจากนั้นยังเป็นการซ่อมเสริมผู้เรียนที่เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.ชุดการฝึกช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่คงทนชุดการฝึกสามารถให้ผู้เรียนได้ฝึกทันที่หลังจากจบบทเรียนนั้นๆหรือให้มีการฝึกซ้ำหลายๆครั้งเพื่อความแม่นยำในเรื่องที่ต้องการฝึก หรือเน้นย้ำให้นักเรียนทำชุดการฝึกเพิ่มเติมเฉพาะในเรื่องที่ผิด
3.ชุดการฝึกสามารถเป็นเครื่องมือในการวัดผลหลังจากที่ผู้เรียนเรียนจบในแต่ละครั้ง ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความรู้ความสามารถชองตนเองได้และไม่เข้าใจและทำผิดในเรื่องใดๆผู้เรียนก็สามารถซ่อมเสริมตนเองได้ จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าทั้งของครูผู้สอนละผู้เรียน ผู้เรียนไม่มีปมด้วยที่ตนทำผิดและสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของตน
4.เป็นสื่อที่ช่วยเสริมบทเรียนหรือหนังสือเรียนหรือคำสอนของครูผู้สอน ชุดการฝึกของครูผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อฝึกทักษะ เช่น ชุกฝึกความคิดในรูปแบบต่างๆเป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นผู้รู้จักคิดเป็นนำไปสู่การไขปัญหาต่างๆในการดำเนินชีวิตต่อไป
5.ชุดฝึกรายบุคคลผู้เรียนสามารถนำไปฝึกเมื่อไหร่ก็ได้ไม่จำกัดการเวลาและสถานที่นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดได้ตามความต้องการของตน โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นหรือเร้าใจให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง
6.ลดภาระการสอนของครูผู้สอน ไม่ต้องฝึกทบทวนความรู้ให้แก่ผู้เรียนตลอดเวลาตามลำพังโดยมีภาระให้ทำตามที่มอบหมาย จัดได้ว่าเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
8.ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ การที่ผู้เรียนได้ทำชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ที่มีรูปแบบหลากหลายจะทำให้ผู้เรียนสนุกและเพลิดเพลิน เป็นการท้าทายให้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆตามชุดการฝึก
หลักการสร้างชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะ
ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน จึงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้เป็นอย่างดี ซึ่งมีหลักสำคัญเป็นแนวในการจัดทำชุดฝึกทักษะดังนี้
1.จัดเนื้อหาสาระในการฝึกตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้
2.เนื้อหาสาระและกิจกรรมการฝึกเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน
3.การวางรูปแบบของแบบฝึกทักษะมีความสัมพันธ์กับโครงเรื่องและเนื้อหาสาระของเรื่อง
4.แบบฝึกทักษะต้องมีคำชี้แจงง่ายๆสั้นๆ เพื่อทำให้ผู้เรียนอ่านเข้าใจ เรียนจากง่ายไปยาก มีแบบฝึกทักษะที่น่าสนใจและท้าทายให้ผู้เรียนต้องแสดงความสามารถ
5.มีความถูกต้อง และครูผู้สอนจะต้องพิจารณาตรวจสอบให้ดีอย่างให้มีข้อผิดพลาด
6.กำหนดเวลาที่ต้องใช้แบบฝึกทักษะแต่ละตอนให้เหมาะสม
ลักษณะของชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะที่ดี
ในการสร้างชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ผู้สร้างชุดการฝึกควรคำนึงในเรื่อง
ต่อไปนี้
1.ควรมีแบบฝึกทักษะหลายๆแบบในชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และควรมีแบบที่เร้าความสนใจผู้เรียนได้ลองความสามารถของตน
2.ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนมาตอบในชุดการฝึกหรือชุดฝึกทักษะหรือนำมาประยุกต์ใช้ในการตอบในแบบฝึกทักษะ
3.สำนวนภาษาง่าย เหมาะกับวัยของผู้เรียนและผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
4.ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะแต่ล่ะชุดนั้นควรคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล
5.ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ควรฝึกความสามารถของผู้เรียนหลายๆด้าน
6.ควรฝึกทักษะในด้านการเรียนรู้ในด้านความคิดหลายๆรูปแบบ เช่น คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารญาณ คิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
หลักจิตวิทยาและหลักการสอนที่เกี่ยวข้องกับการทำชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
ในการสร้างชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องนำหลักจิตวิทยาและหลักการสอนมาเป็นพื้นฐานในการจัดทำตัวดังนั้นผู้จัดทำจึงควรได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีของนักจิตวิทยาและนักศึกษามาเป็นข้อคิดในการจัดทำ ตัวอย่างเช่น
1.ทฤษฏีการสอนของบรูเนอร์(Bruner’s lnstruction Theory)ทฤษฏีการสอนของบรูเนอร์กล่าวว่าการที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กนั้น จะต้องพิจารณาหลักการ45ประการคือ
1.1แรงจูงใจ(motivation)ซึ้งมีทั้งแรงจูงใจที่เกิดจากภายในตัวเด็กเอง จะทำให้เกิดความปรารถนาที่จะเรียนรู้และความต้องการความสำเร็จ นอกจากนั้นยังมีแรงจูงใจที่ต้องการเข้าร่วมงานกับผู้อื่น และรู้จักการทำงานร่วมกัน กล่าวได้ว่า ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดความปรารถนาที่จะรู้ โดยการจัดการทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น เพื่อเด็กจะได้ทำการพยายามสำรวจทางเลือกต่างๆอย่างมีความหมายและพึงพอใจอันจะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
1.2โครงสร้างของความรู้(Structure of knowledge)ผู้สอนควรเสนอเนื้อหาตามขั้นตอนและควรเสนอในรูปแบบที่ง่ายเพียงพอที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ เช่น เสนอโดยให้กระทำจริง ใช้รูปภาพ ใช้สัญลักษณ์ มีการเสนอข้อมูลอย่างกระชับ เป็นต้น
1.3ลำดับขั้นตอนของการเสนอเนื้อหา(Sequence)ผู้สอนควรเสนอเนื้อหาตามขั้นตอนและควรเสนอในรูปแบบของการกระทำมากที่สุด ใช้คำพูดน้อยที่สุดต่อจากนั้นจึงค่อยเสนอเป็นแผนภูมิหรือรูปภาพต่างๆ สุดท้ายจึงค่อยเสนอเป็นสัญลักษณ์หรือคำพูด ในกรณีที่ความรู้พื้นฐานของเด็กดีพอแล้ว ครูก็สามารถเริ่มความสอนด้วยสัญลักษณ์ด้วยเลย
1.4การเสริมแรง(Reinforcement)การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพถ้ามีการให้การเสริมแรง เมื่อเด็กสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Connectionism)ของธอร์นไดค์(Thorndike)ธอร์นไดค์ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus)และการสนองตอบ(Response)ของอินทรีย์ความสัมพันธ์จะมีมากขึ้นหรือลดลงเป็นผลเนื่องมาจากผลที่เกิดขึ้นหลังจากการสนองตอบ ถ้าผลที่เกิดขึ้นอินทรีย์พึงพอใจ ความสมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการสนองตอบ ย่อมลดลงหรือหายไปในที่สุด ธอร์นไดค์เรียกหลักการนี้ว่า กฎแห่งผล(Law of Effect)
          กฎแห่งผลกล่าวว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้น เพราะบุคคลกระทำ และยิ่งทำมากความชำนาญจะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ฝึกมีความคล่องแคล่ว สามารถทำได้ดี
3.ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไข(The Conditions of Learning)กาเย่ ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยมและได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ของพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ส่วนใหญ่เขาจะเน้นไปทางแนวความคิดของนักจิตวิทยาของกลุ่มปัญญานิยม กาเย่ได้เสนอแนวทางการจัดการการเรียนการสอนในห้องเรียนให้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
3.1ลักษณะของผู้เรียน ผู้สอนจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับเรื่อง ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม แรงจูงใจ
3.2กระบวนการทางปัญญาและการสอน เงื่อนไขการเรียนรู้ที่ส่งผลทำให้การสอนแตกต่างกัน เช่น
1)การถ่ายโยงการเรียนรู้ มี2ลักษณะคือทำให้เกิดการเรียนรู้ทักษะในระดับที่สูงได้ดีขึ้น และแผ่ขยายไปสู่สภาพการณ์อื่นนอกเหนือจากสภาพการสอน
2)การเรียนรู้ทักษะการเรียน บุคคลอาจมาวิธีการที่จะจัดการเรียนรู้ การจดจำและการคิดด้วยตนเอง จึงควรช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนให้พัฒนาไปตามศักยภาพชองตนเองอย่างเต็มที่
3)การสอนกระบวนการแก้ปัญหา มี2เงื่อนไข คือ ผู้เรียนจะต้องรู้กฎเกณฑ์ต่างๆที่จำเป็นมาก่อน และสภาพของปัญหาที่เผชิญมาก่อน ผู้เรียนจะค้นพบคำตอบจากการเรียนรู้โดยการค้นพบ ซึ่งผู้เรียนจะมีโอกาสพบเกณฑ์ต่างๆในระดับสูงขึ้น
          3.3สภาพการณ์สำหรับการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องรู้สภาพการณ์ของการเรียนรู้จึงจะสามารถวางระบบการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การสอนซ่อมเสริม การสอนกลุ่มเล็ก การสอนกลุ่มใหญ่ เป็นต้น
ขั้นตอนการสร้างชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะ
ในการสร้างชุดการฝึกนั้นผู้สร้างจะต้องดำเนินการดังนี้
1ศึกษาหลักสูตร หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2.วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์ในแต่ละชุดการฝึก
3.จัดทำโครงสร้างและชุดฝึกในแต่ละชุด
4.ออกแบบชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะในแต่ละชุดให้มีรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ
5.ลงมือสร้างแบบในแต่ละชุด รวมทั้งออกข้อสอบก่อนและหลังเรียนให้สอดคล้องกับข้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้
6.นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
7.นำชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะไปทดลอง บันทึกผล แล้วปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง
8.ปรับปรุงชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพ
9.นำไปใช้จริง และเผยแพร่ต่อไป
7.หนังสือนาทาน
นิทานเป็นหนังสือที่เป็นนิยมสำหรับผู้อ่านที่อยู่ในวัยเด็ก นิทานจึงมีอิทธิพลต่อการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนอย่างมาก ดังนั้นครูผู้สอนในปัจจุบัน จึงเห็นความสำคัญของการนำนิทานมาเล่าให้เด็กฟังหรืออ่านนิทานเพื่อเป็นการจูงใจ หรือเร้าความสนใจให้แก่เด็กก่อนการเรียนการสอนหรือใช่นิทานเป็นสื่อในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ให้แก่เด็กและเยาวชน นอกจากนั้นนิทานยังมีคุณค่าต่อการฝึกทักษะการอ่าน การฟัง การพูด และการเรียนให้แก่เด็ก การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยในการรักการอ่าน การใฝ่รู้การฝึกทักษะการคิดและการตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีเหตุผลอีกทั้งสร้างความเพลิดเพลินและความสนุกสนานคลายความเครียดให้แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟังนิทานอีกด้วย
ความหมายของนิทาน
มีผู้ให้ความหมายของนิทานไว้ดังนี้
ทรงพร สุทธิธรรม(2534:56)ให้ความหมายของนิทานว่า หมายถึง เรื่องราวที่เล่ากันต่อมาหรือแต่งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานหรือแทรกแนวคิด คุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่เด็ก เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้เหมาะสมในการดำเนินชีวิตในสังคม
เกริก ยุ้นพันธ์(2547 : 8) ให้ความหมายของนิทานว่าหมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการผูกเรื่องขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานแฝงคำสอนจรรยาในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องของผู้เล่าให้คนรุ่นใหม่ฟัง
สัณหพัฒน์ อรุณธารี(2542:2)ให้ความหมายของนิทานว่า หมายถึง เรื่องที่มีผู้แต่งขึ้นใหม่ หรือเป็นการเล่าสืบต่อกันมา เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ฟังเป็นสำคัญ และสอดแทรกคุณธรรมคู่ความรู้ประกอบ สมศักดิ์ ปริปุรณะ(2542:48)สรุปความหมายของนิทานไว้ดังนี้คือ
1.เป็นเรื่องที่ผูกขึ้น
2.เป็นเรื่อเล่าที่ใช้วาจาเป็นสื่อในการถ่ายทอดหรือเขียนทำนองการเล่าด้วยปากเปล่า
3.เป็นบทประพันธ์ที่มีลีลาการเล่าแบบเป็นกันเองทำนองการเล่าด้วยวาจา
4.เป็นเรื่องเล่าที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อความบันเทิงใจและมีสิ่งสอนใจเป็นจุดประสงค์รอง สรุปได้ว่า นิทาน หมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบทอดกันมาหรือเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน และได้ข้อคิดเตือนใจเกี่ยวกับด้านคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม เพื่อนำไปใช่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
ประเภทของนิทาน
มีผู้จำแนกของประเภทนิทานไว้ดังนี้
ไพพรรณ อินทนิล(2534:27-28)ได้แบ่งประเภทของนิทานตามรูปแบบ(From)คือ
1.นิทานปรัมปราหรือเทพนิยาย(Fairy Tale)มักจะกำหนดสถานที่เลื่อนลอยไม่แน่ชัด เช่นในกาลครั้งหนึ่ง มีเมืองๆหนึ่ง ตัวละครจะมีฤทธิ์เดชมาก เช่น สังข์ทอง ปลาบู่ทอง สโนว์ไวท์
2.นิทานท้องถิ่น(legend)หรือเรียกว่าตำนาน มักเป็นเรื่องขนาดสั้นเกี่ยวกับการเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นเรื่องพิสดารแต่เชื่อว่าเกิดขึ้นจริง เช่น เรื่องพระยากงพระยาพานพระร่วง
3.นิทานเทพนิยาย(Myth)ตัวบุคคลในเรื่องจะเกี่ยวกับความเชื่อ เช่น เรื่องพระอินทร์ เมขลา รามสูร
4.นิทานเรื่องสัตว์(Animal Tale)เป็นทานที่เป็นเรื่องราวของสัตว์แต่มีพฤติกรรมเช่นเดียวกับคน แบ่งออกเป็น2ประเภทคือ
4.1นิทานเป็นเภทคติธรรม(Fable)คล้ายนิทานคติสอนใจ คือ ตัวเอกต้องเป็นสัตว์แต่มีคติสอนใจ เช่น ราสีห์กับหนู
4.2นิทานประเภทเล่าซ้ำๆ หรือเล่าไม่รู้จบ(Formula Tale) เช่น เรื่อง ยายกะตา มีวิธีการเล่าเฉพาะ
5.นิทานตลกขำขัน(Jest)เป็นเรื่องสั้นๆเนื้อหาจุดสำคัญอยู่ที่เรื่องไม่น่าเป็นไปได้ อาจเป็นเรื่องทางการแก้เผ็ด แก้ลำ การแสดงปฎิพาณไหวพริบ เป็นการแสดงออกทางด้านอารมณ์ของมนุษย์ที่ต้องการหลุดพ้นจากรอบของวัฒนธรรม ประเพณี และกิจวัตร นิทานประเภทนี้รวมไปถึงนิทานเหลือเชื่อ
วิไล มาศจรัส(2545:16-23)ได้แบ่งประเภทของนิทาน เป็น4ประเภทดังนี้
1นิทานภาษิต(Fable)นิทานภาษิตจะเป็นนิทานสั้นๆ มีตัวละครเป็นสัตว์ ตัวละครในนิทาน สามารถจำแนกได้ คือ
1.1ตัวละครที่มีอำนาจ เช่น สิงโต เสือ ช้าง ตัวละครดังกล่าวจะได้รับการยกย่องให้เป็นเจ้าป่า
1.2ตัวละครฝ่ายอธรรม แสดงถึงความเจ้าเล่ห์ ขี้โกง เช่น สุนัขจิ้งจอก หมาป่า 1.3ตัวละครที่มีสติปัญญาน้อย เช่น ลา
1.4ตัวละครที่ซุกซน เช่น ลิง
1.5ตัวละครที่มีการแสดงถึงอายุยืน เชื่องช้า เช่น เต่า
1.6ตัวละครที่มีความปราดเปลี่ยว เช่น กระต่าย ไก่ป่า
2.นิทานเทพนิยาย(Fairy Tale)ละครเทพนิยายจะมีตัวละครเอกเป็นมนุษย์ มีศักดิ์สูง เช่น เป็นเจ้าหญิง เจ้าชาย
ถ้าเป็นคนธรรมดาก็มักจะมีลักษณะพิเศษ เช่น รูปงามเป็นต้น นิทานเทพนิยายของต่างประเทศที่คนไทยรู้จักกันดีคือ เรื่องซอนเดอเรลล่า เจ้าหญิงนิทรา สโนไวท์และคนแคระทั้งเจ็ดเป็นต้น ปุจจุบันละครเทพนิยายดังกล่าวมีผู้นำไปใช้เป็นสร้างเป็นภาพยนต์การ์ตูนฉายเผยแพร่ไปทั่วโลก
3.นิทานชาดก นิทานชาดกเป็นนิทานที่อยู่ในคัมภีร์เรียกว่า นาทานชาดก กับปัญญาสชาดก เป็นนิทานที่มีไว้ยกเป็นคำสอนของผู้แสดงธรรม เช่น เวลาพระภิกษุแสดงพระธรรมเทศนาก็จะมีการยกชาดกขึ้นมาขยายความให้เป็นข้อคิดเตือนใจ
4.นิทานชาวบ้าน(Folk Tale)นิทานชาวบ้านเป็นนิทานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณ เนื้อหาในนิทาน   
มักจะอ้างอิง สถานที่อยู่จริงในท้องถิ่น เช่น เรื่องไกรทอง จะอ้างเหตุการณ์ในจังหวัดพิตร เขานางนอน อ้างสถานที่จังหวัดเชียงราย ตาม่องล่าย อ้างเหตุการณ์สถานที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกาะหนู เกาะแมว อ้างสถานที่ในจังหวัดสงขลาเป็นต้น
ธวัช ปุณโณฑก(2542:13-18)ได้อธิบายว่า นิทานพื้นบ้านแบ่งเป็น7ประเภทคือ
1.นิทานมหัศจรรย์ คือ นิทานจักรๆวงศ์ๆหรือนิทานประโลมโลก เช่น เจ้าชายถูกแม่เลี้ยงริษยา ต้องออกจากเมือง เผชิญโลกไปยังดินแดนมหัศจรรย์ ปราบยักษ์ นกอินทรี และฝ่ายอธรรมทั้งหลาย จนในที่สุดก็กลับมาครองเมืองอย่างสันติสุข
2.นิทานวีรบุรุษ เป็นนิทานที่มีโครงเรื่องแนวปฎิหาริย์แต่ได้อ้างอิงชื่อบุคลในประวัติศาสตร์ บุคคลที่เป็นวีรบุรุษประจำชาติหรือบุคคลสำคัญของเผ่าพันธุ์หรือภูมิภาคนั้น เช่น เรื่องท้าวแสนปม  เรื่องพระร่วง เป็นต้น
3.นิทานประจำถิ่น เป็นนิทานที่อธิบายความเป็นมาของท้องถิ่น ถึงแม้ว่าแนวเรื่องจะเป็นแนวปฎิหาริย์ แต่ปรากฏชื่อในสถานที่ท้องถิ่นจริง มีโบราณสถานจริง หรือมีหลักฐานเป็นสิ่งสำคัญของของถิ่นนั้นๆจริงเช่น เรื่องพระยากงพระยาพาน (ปฐมเจดีย์) เรื่องตาม่องล่าย (ชื่อภูเขาในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น
4.นิทานอธิบายเหตุ เป็นนิทานที่อธิบายของปรากฎการณ์ธรรมชาติ อธิบายรูปร่างของสัตว์และอธิบายความเป็นมาของพิธีต่างๆ นิทานเหล่านี้มุ่งอธิบายความเป็นมาชองสรรพสิ่งต่างๆตามความเชื่อและทัศนะของคนไทยซึ้งไม่สอดคล้องกับวิถีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทำไมเมล็ดข้าวจึงเล็ก ทำไมกระดองเต่าจึงแตก เป็นต้น
5.เทพนิยายหรือนิทานเทวปกรณ์ เป็นนิทานที่เล่าความเป็นมาของโลกและจักรวาลตามทัศนะและความเชื่อของคนไทย และสรรพสิ่งต่างๆในโลก เช่น เรื่องเมขลารามสูรเรื่อราหูอมจันทร์ เป็นต้น
6.นิทานสอนใจ บางครั้งเรียนกว่า นิทานคติธรรม แนวเรื่องของนิทานจะยึดเรื่องคุณธรรม เช่น ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ของตัวเอก ชี้ให้เห็นว่า การประกอบคุณความดีจะได้รับผลดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต
7.นิทานมุขตลก เป็นนิทานที่มุ่งให้ความขบขันแก่ผู้ฟัง ซึ่งจะนำมุขตลกมาจากเรื่องราวต่างๆ เช่น คนปัญญาไวจากเรื่องศรีธนญชัย เรื่องคนขี้เกียจได้ดี เป็นต้น
กล่าวได้ว่า การแบ่งประเภทของนานนั้น มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภทแตกต่างกันออกไป สรุปได้ว่าประเภทของนิทานที่สำคัญ ได้แก่
1นิทานภาษิต มีลักษณะเป็นนิทานสั้นๆมีตัวละครเป็นสัตว์
2.นิทานเทพนิยาย เป็นนิยายเกี่ยวกับการเชื่อ
3.นิทานปรัมปรา เป็นนิทานที่ตัวละครจะมีฤทธิ์เดชมาก กำหนดสถานที่เลื่อนลอยไม่ชัดเจน
4.นิทานชาดก เป็นนิทานที่อยู่ในคัมภีร์ มีไว้ยกเป็นคำสอนของผู้แสดงธรรม
5.นิทานชาวบ้าน เป็นทานพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นที่เล่ากันสืบทอดกันมาแต่โบราณปัจจุบันนี้มีผู้ผูกเรื่องหรือแต่งนิทานที่มีเรื่องราวสอดคล้องกับสภาพสังคมหรือใช้ประกอบในการเรียนการสอนเพื่อเป็นคติเตือนใจผู้อ่านซึ่งเป็นเยาวชน

คุณค่าของนิทาน
1.เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการฟังหรืออ่านนิทาน
2.เด็กได้พัฒนาการด้านภาษาจากการฟัง การอ่าน การพูดเล่าเรื่อง และสามารถเขียนสรุปข้อคิดจากนิทานได้
3.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จากการฟังนิทานทำให้รู้สึกอบอุ่น ได้มีปฎิสัมพันธ์กับผู้เล่า เช่น พ่อ แม่ ครู เพื่อน นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกให้เด็กเป็นผู้ฟังที่ดีและรู้จักแสดงออกอย่างเหมาะสม
4.ช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการจากเรื่องราวที่ฟังได้เช่น เรื่องสัตว์ ธรรมชาติ เป็นต้น
5.เนื้อหาสาระของนิทานบางเรื่องช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามให้แก่เด็ก
6.ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก นิทานบางเรื่องจะมีเกร็ดความรู้ การปฎิบัติตนของตัวละครที่เป็นแบบอย่าง ในการกระทำกิจกรรมต่างๆเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก้เด็กวิธีหนึ่ง
7.การที่ครูผู้สอนเล่านิทานหรือให้เด็กนักเรียนอ่านนิทานอยู่เสมอ เป็นการฝึกให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับเรื่องที่ฟัง และเมื่ออ่านหรือฟังนิทานจบแล้ว ครูสามารถฝึกให้เด็กมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ข้อคิดสำคัญจากนิทานได้ และรู้จักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆอย่างสร้างสรรค์
ขั้นตอนการเขียนนิทาน
ผู้เขียนนิทานแต่ละคนย่อมมีขั้นตอนการเขียนตามรูปแบบของตนแตกต่างกันออกไปแต่มีขั้นตอนสำคัญที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้
1.กำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียน โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไป เช่น ต้องการเขียนนิทานที่เป็นเรื่องสั้นๆ หรือเป็นนิทานท้องถิ่น ต่อจากนั้นก็กำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะว่า นิทานที่จะเขียนนั้นมีลักษณะเฉพาะอย่างไร เช่น เพื่อปลูกฝังคุณธรรมเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความมีระเบียบวินัย ความกตัญญู หรือเพื่อเป็นการเตือนสติไม่ให้เกิดความประมาท ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ให้เข้าใจและมีความรักชาติหรือเพื่อให้เกิดความรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.วิเคราะห์คุณสมบัติของผู้อ่าน ซึ่งเป็นกลุ่มเครื่องหมายว่าอยู่ในวัยใด หรือถ้าเป็นนิทานที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนก็ต้องวิเคราะห์ว่า กลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับชั้นหรือช่วงชั้นใด เพื่อจะได้เขียนเนื้อหาสาระและสำนวนได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้อ่าน
3.กำหนดเค้าโครงเรื่องซึ่งประกอบด้วย การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง การปิดเรื่องโดยมีขอบข่ายเนื้อหาสาระในแต่ละตอนที่ชัดเจน มีแก่นของเรื่อง เช่น เรื่องของการซื่อสัตย์ ก็จะมีเนื้อเรื่องที่เป็นแก่นของเรื่องแสดงถึงชีวิตของคน ที่ปฏิบัติตนโดยยึดมั่นในความซื่อสัตว์ถึงแม้ว่าจะมีสิ่งเย้ายวนใจให้เกิดความโลภ ไม่ซื่อสัตย์ แต่บุคคลนั้นก็ยังมีความมั่นคง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการกำหนดตัวละคร ฉาก ลีลาการใช้สำนวนภาษา เช่น เขียนแบบเรียบๆ เขียนกระชับรัดกุม หรือเขียนแบบปลุกเร้าจิตใจ เป็นต้น
4.กำหนดการประเมินผลว่า เมื่อเด็กๆได้อ่านหรือฟังนิทานแล้ว มีความรู้ความเข้าใจมีพฤติกรรมตามที่กำหนดไว้อย่างไร เช่น เมื่ออ่านหรือฟังนิทานเรื่องนี้แล้วเด็กๆเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นคนที่มีความมั่นคงในความซื่อสัตย์สุจริตแล้วนำไปประยุกต์ปฏิบัติตามตัวละครในเรื่อง
5.กำหนดแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนการยกร่างต้นฉบับนิทานในเรื่องนั้นๆ เช่น ในกรณีนำสถานที่ในแต่ละท้องถิ่นมาผูกเรื่องเป็นนิทาน เช่น เขาตาม่องลาย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ เป็นต้น
6.ยกร่างต้นฉบับ เป็นการเขียนเนื้อหาสาระนิทานตามที่กำหนดเค้าโครงเอาไว้แล้ว การยกร่างครั้งแรกเมื่อจัดทำแล้วผู้เขียนควรได้อ่านทบทวน ตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหาสาระความสัมพันธ์ของตัวละครกับสถานที่ ฉาก เวลา สำนวนเหมาะสม ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ผู้เขียนนิทานควรให้ความสำคัญต่อการปิดเรื่องนิทานซึ่งอยู่ในตอนสุดท้ายของนิทานกล่าวคือ ควรให้ผู้อ่านได้ข้อคิดสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
7.ทดสอบต้นฉบับ โดยการนำนิทานที่ยางร่างเรียบร้อยแล้วไปให้เด็กซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมายการอ่าน หรือนำไปเล่าให้เด็กซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เด็กแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในนิทานเรื่องนั้น
8.การปรับปรุงต้นฉบับ เมื่อได้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากตัวแทนกลุ่มเป้าหมายแล้วก็นำต้นฉบับไปปรับปรุง แก้ไขหรือพัฒนาให้สมบูรณ์ และถ้าต้องการความมั่นใจในคุณภาพของหนังสือนิทานเล่มนั้นก็อาจจะนำไปทดสอบกับผู้อ่านหรือผู้นำไปเล่าให้เด็กซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายอีกครั้งเพื่อจะได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์นำมาปรับปรุงนิทานให้มีคุณภาพที่ดีต่อไป
          ในกรณีที่เป็นหนังสือนิทานควรมีภาพประกอบตามความเหมาะสมเพื่อเร้าความสนใจของผู้อ่านหรือทำให้เกิดจินตนาการตามเรื่องราวของนิทาน หรือมีความเพลินเพลินจากการอ่านหนังสือนิทาน



6 ความคิดเห็น:

  1. ขอบพระคุณมากๆนะคะ อ่านแล้วเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เป็นแนวทางในการเลือกสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้มากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณ ความรู้ที่แบ่งปันค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24 กันยายน 2563 เวลา 20:18

    เนื้อหา รายละเอียดชัดเจนมากคะ ขอบคุณที่แบ่งบันความรู้คะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณค่ะ เขียนได้ดีมาก สว่างเลย สงสัยมาตั้งนาน

    ตอบลบ